เป็นความเชื่อตั้งแต่สมัยโบราณของประเทศญี่ปุ่นว่ามีเทพเจ้ามากมายจำนวนนับไม่ถ้วนสิงสถิตย์อยู่ในสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิตที่รายล้อมผู้คน ควบคุมธรรมชาติในทุกรูปแบบ และส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คน ดังนั้นผู้คนจึงจัดงานเทศกาลมากมายเพื่อส่งคำภาวนาโดยหวังว่าเหล่าทวยเทพจะประทานพรให้กับพวกเขา และเพื่อขอบคุณเทพเจ้าเวลาที่สิ่งที่ขอไปแล้วส่งผล ตัวอย่างเช่น พวกเขาได้จัดเทศกาลมากมายเพื่ออธิษฐานขอให้ต้นข้าวออกรวงสมบูรณ์เต็มที่, เพื่อขอบคุณเทพเจ้าสำหรับการเก็บเกี่ยวพืชผลที่ดี, เพื่อปลอบประโลมวิญญาณที่ชั่วร้าย, เพื่อทำให้เทพเจ้าที่ดุร้ายสงบลง, ปกป้องไม่ให้เกิดโรคระบาด และอื่นๆ แม้แต่ในทุกวันนี้เองก็ตาม เทศกาลต่างๆก็ยังมีความสำคัญในวัฒนธรรมของญี่ปุ่น
เทศกาลใหญ่ซาวาระ, เทศกาลดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่เมื่อ 300 ปีก่อนในอดีตกาล มีการจัดขึ้น 2 ครั้งต่อปี ในฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง เทศกาลใหญ่ซาวาระฤดูร้อน เป็นที่รู้จักในชื่อ กิออนมัตสึริ, จัดขึ้นเพื่อเทพเจ้าโกซูเทนโน ที่สถิตย์อยู่ในศาลเจ้ายาซากะ ผู้ที่ถูกมองว่าเป็นผู้ที่ทำให้เกิดโรคระบาด เนื่องจากว่าโรคระบาดมักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนในเดือนกรกฎาคม, เทศกาลกิออนจึงจัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม
เทศกาลใหญ่ซาวาระฤดูใบไม้ร่วง, อีกงานหนึ่งที่จัดขึ้นในเดือนตุลาคมเพื่อขอบคุณเทพเจ้าของศาลเจ้าสุวะที่ประทานพรให้สามารถเก็บเกี่ยวพืชผลได้อย่างสมบูรณ์
ไฮไลท์ของเทศกาลซาวาระคือขบวนแห่ ซึ่งได้รับการระบุให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมไร้รูปร่างที่มีความสำคัญ ในฤดูร้อน มีรถลาก 10 คัน ในขณะที่ในฤดูใบไม้ร่วงมี 14 คัน รถลากเหล่านี้ ซึ่งมีความโดดเด่นที่ตุ๊กตาและการประดับที่มีความละเอียดซับซ้อนที่ได้รับการสร้างสรรค์จากช่างฝีมือที่ได้รับเชิญมาจากเอโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) โดยเหล่าพ่อค้าผู้มีฐานะของซาวาระ พ่อค้าในท้องถิ่นจะประชันกับพ่อค้าคนอื่นๆ ว่าใครเป็นผู้ที่มีตุ๊กตาตัวใหญ่ที่สุดอยู่บนยอดขบวนแห่ของตน จนทำให้ตุ๊กตานั้นมีความสูงขึ้นไปถึง 4 เมตรด้วยกัน
รูปแบบของเทศกาลในปัจจุบันถูกจัดขึ้นในระหว่างช่วงท้ายของยุคเอโดะ (1603-1867) และยุคเมจิ (1868-1912) ผู้คนจัดพิธีกรรมการออกเดินทาง, เต้นรำ และคัดท้ายรถลากอย่างกล้าหาญไปตามท่วงทำนองเพลงที่ขับร้องอย่างไพเราะของซาวาระบะยะชิ ที่เป็นการแสดงดนตรีตามเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด 1 ใน 3 ของญี่ปุ่น ที่บรรเลงโดยนักดนตรีประมาณ 15 คน เล่นเครื่องดนตรีบนรถลากแต่ละคันๆ หนึ่งในวิธีการลากรถลากที่โดดเด่นเป็นที่รู้จักในชื่อว่า “โนะโนะจิมะวะชิ” ซึ่งรถลากจะถูกคัดท้ายราวกับว่าพวกเขากำลังเขียนคำว่า “โนะ” ด้วยตัวอักษรฮิรากานะลงบนพื้นถนน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห้ามพลาดการชมทิวทัศน์ขบวนรถลากเลียบข้างแม่น้ำโอะโนะในยามค่ำคืนตามดนตรีซาวาระบะยะชิ ฉากที่เหมือนกับรูปวาดนี้ชวนให้ย้อนนึกถึงสิ่งที่ซาวาระเคยเป็นในสมัยเอโดะ
ขบวนแห่รถลากนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมพื้นบ้านที่ไม่มีรูปร่างที่สำคัญของประเทศญี่ปุ่น
ฮินะมัตสึริ หรือวันเด็กผู้หญิง เป็นเทศกาลสำหรับการอธิษฐานขอให้บุตรสาวมีสุขภาพดีและปลอดภัย ซึ่งทำโดยการจัดแสดงตุ๊กตาฮินะ ในระหว่างช่วงโมะโมะโนะเซ็กกุ อันเป็นหนึ่งใน 5 เทศกาลที่จัดในวันมงคลตามปฏิทินจันทรคติ โมะโมะโนะเซ็กกุคือวันที่ 3 มีนาคมของปฏิทินจันทรคติ ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล กล่าวกันว่าเป็นช่วงที่ในญี่ปุ่นผู้คนจะเจ็บป่วยได้ง่าย ดังนั้นในช่วงฤดูดังกล่าวจึงมีการจัดเทศกาลเกี่ยวกับเทพเจ้าตามประเพณีแบบดั้งเดิมขึ้นเพื่อปกป้องผู้คนจากการเจ็บป่วย กล่าวกันว่าในช่วงการเปลี่ยนแปลงฤดู, ชาวญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะเจ็บป่วยมากขึ้น ดังนั้นในสมัยก่อน ผู้คนนำตุ๊กตาที่ทำจากไม้ พืช และกระดาษมาถูนวดตามร่างกาย เพื่อถ่ายทอดสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์จากร่างกายไปยังตุ๊กตา และนำตุ๊กตาเหล่านั้นไปลอยลงในแม่น้ำหรือทะเล ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไป เหล่าลูกสาวเริ่มเล่นตุ๊กตาที่มีคำอธิษฐานของพ่อแม่ให้ลูกเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ อีกทั้งตุ๊กตาฮินะยังถูกมองว่าเป็นหนึ่งในสินสอดของสาวน้อยที่มีความสำคัญ ต่อครอบครัวซามูไรและอื่นๆ และค่อยๆ กลายเป็นของประดับตกแต่งมากยิ่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ยิ่งเหล่าช่างฝีมือประดิษฐ์ตุ๊กตาที่สง่างามมากขึ้น ผู้คนก็ยิ่งนำตุ๊กตาเหล่านี้มาจัดแสดงให้ชมในช่วงเทศกาลฮินะมัตสึริ
ตุ๊กตาฮินะทั่วไปสวมใส่เสื้อผ้าที่สร้างขึ้นให้มีลักษณะคล้ายกับพวกข้าราชบริพารระดับสูงที่ทำงานในพระราชวังของจักรพรรดิในสมัยเฮอัน (794-1185) จำนวนชั้นและตุ๊กตาที่แสดงนั้นแตกต่างออกไปตามฐานะของครอบครัว เหล่าพ่อค้าที่มีฐานะมากมายที่อาศัยอยู่ในซาวาระในช่วงยุคเอโดะ ซึ่งในขณะนั้นเจริญมากจนครั้งหนึ่งเคยถูกเรียกว่า “เอโดะมาซาริ” (เจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่าเอโดะ) ดังนั้นจึงมีร้านค้ามากมายที่เป็นเจ้าของตุ๊กตาหรูหราจำนวนมาก และมีการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น และตอนนี้ก็นำมาจัดแสดงให้กับนักท่องเที่ยวได้ชมด้วย ในฤดูกาลของฮินะมัตสึริ มีการจัดกิจกรรมซาวาระฮินะบุเนะ ที่มีคนแต่งกายด้วยอาภรณ์ในสมัยเฮอัน พร้อมกับมีการแสดงดนตรีดั้งเดิมของญี่ปุ่น เป็นขบวนพาเหรดเรือท้องแบนแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า “ซัปปะบุเนะ” แสดงให้เห็นบรรยากาศในประวัติศาสตร์ที่สง่างาม
“สมาคมภริยาแห่งซาวาระ” ได้จัดเทศกาลไม้ไผ่ประดับไฟในซาวาระในช่วงกลางเดือนสิงหาคมของทุกปี ในช่วงฤดูกาลที่เรียกว่าโอบ้ง ชาวญี่ปุ่นจะจุดไฟขึ้นในตอนเย็นเพื่อส่องให้ดวงวิญญาณของบุคคลอันเป็นที่รักที่จากไปให้กลับมาหาได้ถูก และส่งพวกเขากลับไปในภายหลัง ในเย็นวันสุดท้ายของเทศกาลโอบ้ง ผู้คนจะเข้าร่วมในพิธีการที่เรียกว่าโทโระนะงะชิ คือการลอยโคมกระดาษที่จุดไฟเอาไว้ข้างใน ซึ่งผู้คนจะลอยโคมลงไปในแม่น้ำเพื่อนำทางให้วิญญาณกลับไปสู่โลกของวิญญาณ ในช่วงเทศกาลไม้ไผ่ประดับไฟ ผู้คนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมอันหนึ่งที่คล้ายกันที่เรียกว่า ยูเมะโทโระนะงะชิ (ลอยโคมแห่งความฝัน)ได้ ซึ่งสามารถเขียนความปรารถนาและความฝันลงไปในโคมกระดาษ และลอยลงไปในแม่น้ำโอะโนะในภายหลัง
หนึ่งในกิจกรรมการจุดดอกไม้ไฟที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเขตคันโต เทศกาลดอกไม้ไฟซุยโกโอะมิกะวะ ได้มีการจุดดอกไม้ไฟขึ้นไปในท้องฟ้ายามค่ำคืนเหนือพื้นที่ริมน้ำมากกว่า 1 ศตวรรษมาแล้ว เทศกาลดอกไม้ไฟประจำปีนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 1 สิงหาคม บนฝั่งแม่น้ำโทะเนะใกล้กับสะพานโอะมิกะวะโอฮะชิ ในเทศกาลนี้มีการจัดแสดงดอกไม้ไฟกว่า 8,000 ลูก ดึงดูดผู้ชมได้มากกว่า 150,000 คนในแต่ละปี ในช่วงระหว่างเทศกาล ภาพทิวทัศน์ที่งดงามจับใจของดอกไม้ไฟชุด “เหมืองดาวบนผืนน้ำ” และ ”น้ำตกไนแองการา” ได้รับการชื่นชมจากผู้คนเป็นอย่างมาก
สถานที่จัดเทศกาลดอกไม้ไฟอยู่ห่างจากสถานีโอะมิกะวะ JR โดยใช้เวลาเดินเพียง 20 นาที และ 20 นาทีโดยรถยนต์จาก IC ซาวาระคาโทริบนทางด่วนฮิงะชิคันโต
นอกจากนี้ ผู้ชมยังสามารถเข้าถึงสถานที่จัดงานได้โดยเรือชัตเติ้ลซึ่งอยู่ใกล้กับสะพานคะมิโอฮะชิข้ามแม่น้ำคุโรเบะในราคาไปกลับ 1,000 เยน คุณสามารถเดินจากสถานี JR โอะมิกะวะ ไปที่สะพานคะมิโอฮะชิได้ใน 10 นาที
COPYRIGHT SUIGO-SAWARA TOURIST ASSOCIATION ALL RIGHTS RESERVED.
HOME